Just another WordPress.com site

English Conversation 2

การอ่านเสียงคำกริยาช่องที่ 2 ที่เติม ed
มีกฎเกณฑ์ในการจดจำที่ง่าย ๆ 3 ข้อ ดังนี้

1) กริยาที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะ /t/ และ /d/ อ่านออกเป็นเสียง /id/ เสียงภาษาไทย จะออกเสียง อิด อย่างเช่น คำว่า
– presented (นำเสนอ) อ่านออกเสียงว่า พรี เซ้น ทิด
– ended (จบ) อ่านออกเสียงว่า เอ็น ดิด
– recorded (บันทึกเสียง) อ่านออกเสียงว่า เรค คอร์ด ดิด
2) กริยาที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะ /f/,/p/, /k/,/s/, /ss/, /sh/, /ch/, /gh/ หรือ , /x/ จะอ่านออกเป็น
เสียง /t/ เสียง ภาษาไทย จะออกเสียง ทึ หรือ เทอะ เสียงพวกนี้เรียกว่า “เสียงไม่ก้อง” คือเวลาออกเสียงลองจับที่คอดูสายเสียงจะไม่สั่น มาดูตัวอย่างการออกเสียงกัน
– stopped (หยุด) อ่านออกเสียงว่า สะ ต๊อป เทอะ
– laughed (หัวเราะ) อ่านออกเสียงว่า แลฟ เทอะ
– asked (ถาม) อ่านออกเสียงว่า แอค สะ เทอะ
3.) กริยาที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะ ตัวอื่น ๆ ตัวอย่าง เช่น /b/, /g/,/v/, /m/, /n/, /r/, /l/ ซึ่งเสียง
พวกนี้เรียกว่า “เสียงก้อง” เสียงจะสั่น จะอ่านออกเป็น เสียง /d/ เสียง ภาษาไทย จะออกเสียง ดึ หรือ เดอะ เช่น
– called (เรียก โทรศัพท์ ) อ่านออกเสียงว่า คอล เดอะ
– planned (วางแผน) อ่านออกเสียงว่า แพลน เดอะ
– loved (รัก) อ่านออกเสียงว่า เลิฟ เดอะ

สรุป ed อ่านได้สามเสียง
1. ถ้า ed ตามหลังเสียง /t/ กับ /d/ ให้อ่านเสียง อิด
2. เสียง /t/ ถ้าตามหลังเสียงไม่ก้อง เช่น พวก /f/, /p/, /k/, /s/
3. เสียง /d/ ถ้าตามหลังเสียงก้อง เช่น /b/, /g/,/v/, /m/, /n/, /r/, /l/

การสร้างแบบสอบถามจาก google

English Grammar

DoiPhuka

Doiphuka

phuwae

Image

Sapan waterfall

Pho phayak